โรงเรียนวัดมณีโชติ (เทียมประชานุเคราะห์)
ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ โรงเรียนวัดมณีโชติ(เทียมประชานุเคราะห์)
วันที่ 8 กันยายน 2024 11:11 PM
โรงเรียนวัดมณีโชติ (เทียมประชานุเคราะห์)
โรงเรียนวัดมณีโชติ(เทียมประชานุเคราะห์)
bb

นางสาวสายพิน แก้วงามประเสริฐ

ผู้อำนวยการ โรงเรียนวัดมณีโชติ(เทียมประชานุเคราะห์)

โรงเรียนวัดมณีโชติ

โรงเรียนวัดมณีโชติ (เทียมประชานุเคราะห์) ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 5 บ้านวัดมณีโชติ ต.คลองข่อย อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ได้เปิดระดับชั้นการสอน ตั้งระดับ อนุบาล 2 จนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
เปิดทำการเรียนการสอน ครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2466 โดยในช่วงการเรียนครั้งแรก ได้ใช้ศาลาการเปรียญของ วัดมณีโชติ เป็นสถานที่ ศึกษาเล่าเรียน และมีนายย้อย วรรณสิงห์ เป็นครูใหญ่เป็นคนแรกของโรงเรียนวัดมณีโชติ (เทียมประชานุเคราะห์) ในขณะนั้น และพระอธิการเหลือ คงทอง เป็นเจ้าอาวาสวัดมณีโชติ
ต่อมา ได้มีการก่อสร้างอาคารเรียน แบบเรือนปั้นหยา 2 ชั้น และได้เริ่มการทำพิธี เปิดเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2477 ตั้งชื่อว่า โรงเรียนว่า “โรงเรียนวัดมณีโชติ(ศึกษาสมบูรณ์)“
ต่อมาในปี 2494 พระอธิการฉาย สุททานิโต เจ้าอาวาสวัดมณีโชติ ในขณะนั้น พร้อมด้วยคณะครู ประชาชนได้ร่วมกันจัดสร้างอาคารเรียนเพิ่มขึ้นอีก 1 หลังขนาดกว้าง  6 เมตร ยาว 45 เมตร ทั้งหมด 7 ห้องเรียน ค่าก่อสร้างโดยรวมประมาณ 14,487 บาท
พ.ศ.  2513 ได้มีการก่อสร้างอาคารเรียนชั้นเดียวขนาด 5 ห้องเรียน เป็นเงิน 200,000 บาท จากงบประมาณ ของจังหวัดราชบุรี
ในปี พ.ศ. 2517 พระครูเทียม มหาญาโน พร้อมด้วยประชาชน ได้ร่วมกัน จัดสร้างอาคารเรียน  มีขนาด ความกว้าง 7  เมตร ยาว 60 เมตร
ในปีพ.ศ. 2534  สำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดราชบุรี  ได้จัดตั้งให้ เป็นโรงเรียนวัดมณีโชติ (เทียมประชานุเคราะห์) ให้เป็นโรงเรียนขยาย โอกาสทางการศึกษา
ในปีพ.ศ. 2535  พระครูประโชติธรรมาภิรัต เจ้าอาวาสวัดมณีโชติ  พร้อมคุณอนุตร์  อัศวานนท์  คุณทวีศักดิ์  เปลี่ยนเที่ยงธรรม  และประชาชน ได้ร่วมกันก่อสร้างอาคารเรียน 2 ชั้น 5 ห้องเรียน แบบ สปช. 105/26 เป็นเงิน 3,500,000 บาท
และในปี พ.ศ. 2540  พระครูประโชติ พร้อมผู้อุปการะโรงเรียน พ่อค้า ประชาชน ได้ร่วมกันก่อสร้างอาคารเรียนแบบ สปช.109/29  สิ้นค่าก่อสร้างจำนวน  3,245,257 บาท

โรงเรียนวัดมณีโชติ (เทียมประชานุเคราะห์) วิสัยทัศน์

โรงเรียนวัดมณีโชติ (เทียมประชานุเคราะห์) เป็นโรงเรียนที่จัดการศึกษา ภาคบังคับ ให้ประชากรในวัยเรียน ในเขตบริการอย่างทั่วถึง มีคุณธรรมนำความรู้ ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีคุณภาพตามมาตรฐาน ธำรงรักษาศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยยึดหลักการมีส่วนร่วม

โรงเรียนวัดมณีโชติ (เทียมประชานุเคราะห์) ปรัชญา

ทุกคนมีความสามารถและพัฒนาได้

พันธกิจ
1. จัดการศึกษาภาคบังคับ ให้มีคุณภาพ และได้มาตรฐาน
2. พัฒนาผู้เรียน ให้เป็นผู้มีคุณธรรม ปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง
3. ขยายโอกาสทางการศึกษา ให้แก่ประชากรวัยเรียนทุกคน
4. พัฒนาครูและ บุคลากรทางการศึกษา
5. กระจายอำนาจการบริหารและ การจัดการศึกษาอย่างมีส่วนร่วม

เป้าประสงค์
1. ผู้เรียนทุกคนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ ตามมาตรฐาน การศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. ผู้เรียนมีคุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นไทย ปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3 ประชากรวัยเรียนทุกคน ได้รับโอกาสในการศึกษาภาคบังคับ ตามสิทธิอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง
4. ครู นักเรียนได้รับการพัฒนา และมีความสุขในการเรียนรู้
5. บุคลากรในโรงเรียนและ ชุมชนมีส่วนร่วม ในการในการจัดการศึกษา อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และสิ่งแวดล้อม

 

นานาสาระ

เรื่อง 4 มารยาทพื้นฐานในห้องเรียน

ห้องเรียนเป็นสถานที่อีกแห่งที่เราสามารถฝึกฝนทักษะต่าง ๆ และใช้ศึกษาหาความรู้ได้ อย่างไรก็ดี ห้องเรียนยังคงสถานที่สาธารณะที่มีผู้คนหลากหลายใช้ร่วมกัน มีคำกล่าวว่าที่ใดมีสังคมที่นั้นย่อมมีกฎเกณฑ์ แม้เราจะเป็นจ่ายค่าเล่าเรียนไปแล้วก็ใช่ว่าเราจะสามารถทำอะไรก็ได้ในห้องเรียน เพราะไม่ใช่แค่เราคนเดียวที่จ่ายเงินเข้ามาเรียน ทุกๆคนที่อยู่ในห้องก็ต่างเสียเงินเช่นกัน  เพื่อให้ผู้อ่านทุกท่านวางตัวได้ถูกต้องและไม่เผลอทำผิดพลาดจนถูกมองในแง่ร้ายว่าเป็นคนไม่ดีหรือถูกอาจารย์หักคะแนนเอา บทความนี้ผู้เขียนจึงนำเรื่อง มารยาทพื้นฐานในห้องเรียน มาฝากกันครับ

 

 1.การเข้าห้อง

ตอนอาจารย์ยังไม่มาเราจะเข้าห้องอย่างไรก็ได้ เป็นที่เวลาอิสระที่เราสามารถทำตัวตามสบายได้หากไม่อายสายตาเพื่อนๆ ทุกคนจะกระโดดเข้าห้อง คลานเข้าหอง ตีลังกาเข้าห้อง เต้นเข้าห้องหรือเดินเฉยๆก็ได้ แต่ก็ต้องคำนึงว่าอย่าให้เสียงดังเกินไปจนรบกวนห้องข้างๆด้วยเพราะเขาอาจกำลังมีการเรียนการสอนอยู่ เมื่ออาจารย์เข้ามาแล้ว เราต้องเงียบ สำรวมท่าทาง รีบเข้าประจำที่นั่ง แทบทุกที่ต้องมีกล่าวสวัสดีอาจารย์โดยมีหัวหน้าห้องนำว่า นักเรียนทั้งหมดทำความเคารพ หลังจากพูดสวัสดีครับ/ค่ะจบ เราควรนั่งรออย่างสงบและเตรียมอุปกรณ์การเรียนให้เรียบร้อย ส่วนกรณีที่เราเข้าห้องช้ากว่าเวลากำหนด ควรตรวจสอบดูก่อนว่าอาจารย์มาแล้วหรือยัง ถ้ายังก็เข้าห้องไปเลย ถ้ามาแล้วก็เข้าห้องไปอย่างเงียบๆไม่ส่งเสียงดัง ถ้าห้องมีประตูเวลาปิดให้ทำอย่างนุ่มนวล แล้วเข้าไปหาที่นั่งโดยไม่ส่งเสียงใด ๆ หรือหากบังเอิญไปสบตากับอาจารย์เข้าหรือที่นั่งเราต้องเดินผ่านอาจารย์ให้พูดว่าขออนุญาตเข้าห้องครับ/ค่ะ ตามด้วยขอโทษที่มาสายครับ/ค่ะ แล้วก้มตัวเดินผ่านอาจารย์

 

2.ในขณะอาจารย์กำลังสอน 

แน่นอนว่าเวลาสอนเราห้ามสื่อสารกับเพื่อนเสียงดัง หรือทำกิจกรรมเป็นการรบกวนคนอื่น โดยปกติเราก็ควรจะปิดเสียงมือถือและไม่ใช้ในขณะที่อาจารย์กำลังสอน หากมีธุระจริงก็ให้ขออนุญาตออกจากห้องไปก่อน โดยปกติเวลาสอนเราไม่ควรเล่นโทรศัพท์ในระหว่างการสอน ยิ่งเป็นอาจารย์ทรงคุณวุฒิหรือวิทยากรที่ถูกเชิญมาจะเป็นการเสียมารยาทมาก ทำให้สถาบันเสียชื่อเสียงได้ แต่ปัจจุบันอาจารย์หลายๆท่านก็อนุโลมให้สามารถนำขึ้นมาใช้งาน หรือเล่นได้แม้จะไม่ใช่เพื่อการศึกษาก็ตาม ในกรณีนี้เราสามารถใช้ได้เท่าที่ไม่รบกวนคนอื่น อาจใส่หูฟัง แต่ต้องไม่ส่งเสียงออกมากให้คนข้างๆได้ยินก็เพียงพอแล้ว แต่จงระวังอย่าหมกมุ่นกับการเล่นมือถือมากไปจนเป็นการเมินอาจารย์ผู้สอน จะทำให้คะแนนพฤติกรรมของเราออกมาไม่ค่อยดีเท่าไหร่

 

3.เมื่ออาจารย์มีคำถามหรือเรามีข้อสงสัย

หลายคนอาจจะคุ้นชินกันการศึกษาแบบเดิมที่อาจารย์จะสอนไปเรื่อย ๆ เรามีหน้าที่ฟังและจดตามไปจนหมดเวลาคาบเรียน แล้วไปเรียนวิชาอื่นต่อวนแบบนี้ไปเรื่อยๆจนหมดวัน จึงเป็นสาเหตุที่บ่อยครั้งที่อาจารย์มีคำถามแต่ก็ไม่มีใครตอบ ปล่อยให้เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ และหลายครั้งที่ผู้เรียนมีคำถามอยู่ในใจแต่ไม่กล้าถามตอนนั้น จะเป็นแอบไปถามหลังจบคาบแทนซึ่งนั่นก็ไม่ได้ผิดที่เราอย่างเดียว

 

การที่มีอาจารย์ยิงคำถามมานั้นก็เพื่อทำให้แน่ใจว่าเรายังคงเข้าใจในเนื้อหาอยู่ เป็นความหวังดีของอาจารย์ที่ต้องการให้เรารับความรู้ครบถ้วนสมบูรณ์ หากเรานิ่งเฉยไม่ตอบสนองความหวังดีของอาจารย์ คงเป็นการเสียมารยาทจริงไหมครับ ผู้เขียนเข้าใจว่าคงไม่อยากมีใครอยากดูเป็นคนโง่ในสายตาคนอื่นเพราะตอบคำถามผิดหรือถามคำถามที่บางคิดคิดว่าไม่ฉลาดเลย ผมเองก็คิดแบบนั้น เมื่อก่อนในห้องผมจะมีคนๆหนึ่งที่ถูกอาจารย์ถามบ่อยแล้วเขามักจะตอบไม่ค่อยได้เพื่อนๆต่างก็หัวเราะเขา ผมเองก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย แต่อาจารย์เขาไม่ได้เยาะเย้ย เขาเข้าใจดีว่าเพื่อนคนนี้ไม่ค่อยเก่งจริง ๆ และกระตุ้นให้นักเรียนคนนั้นเข้าใจในเนื้อหาได้ ทำให้แม้เพื่อนคนนั้นจะไม่ได้คะแนนที่ดีมากนั้น แต่ก็ไม่ได้แย่เท่าแต่ก่อน นี่จึงเป็นข้อดีของการตอบโต้กับอาจารย์ในเวลาสอน

 

กรณีที่เรามีข้อสงสัยเราควรถามทันทีโดยตามมารยาทนั้น เราต้องยกมือไว้แล้วให้อาจารย์เรียกจากนั้นค่อยพูดหรือสอบถามในสิ่งที่เราต้องการ ไม่ใช่ว่าอยู่ดี ๆจะคิดอยากจะพูดก็พูดเลย เพราะจะทำให้การสอนสะดุดและเพื่อนๆเสียสมาธิได้ แต่ถ้าเรายกมือนานแล้วอาจารย์ยังไม่ยอมเรียก นั่นหมายความว่ายังไม่ถึงเวลาที่ควรถามเพราะเนื้อหาอาจจะเข้าใจยากต้องอธิบายให้จบก่อน เช่นนี้เราควรรอเวลาที่อาจารย์จะให้เราถามเมื่อถึงตอนนี้ เราค่อยยกมืออีกครั้งก็ยังไม่สาย 

 

แต่ใช่ว่าทุกคนจะต้องมีคำถามให้อาจารย์ทุกครั้งครับ เพียงเรามีการตอบสนองกับผู้สอนอยู่ตลอดเวลาก็พอ เขาถามก็ตอบ เขาให้ถามแล้วไม่มีคำถามก็บอกไปตามตรง จะได้ไม่เสียเวลาเรียน ไม่ควรให้อาจารย์รู้สึกว่ากำลังพูดอยู่คนเดียวก็เป็นการรักษามารยาทที่ดีแล้ว

 

4.ดูแลความสะอาดของโต๊ะที่นั่ง

แม้ที่นั่งของเราจะมีแม่บ้านมาคอยเก็บกวาดทำความสะอาดอยู่แล้ว แต่ก็ใช่ว่าเราจะใช้มันอย่างไรก็ได้ เมื่อห้องเรียนนั้นเราไม่ได้ใช้คนเดียว เราเรียนจนหมดคาบแล้วจะมีคนมาใช้ต่ออีก หรือบางคนอาจเรียนโต๊ะนั้นซ้ำตลอดทั้งเทอมก็ควรเห็นใจรุ่นน้องหรือเพื่อนๆพี่ๆที่จะมาใช้ต่อด้วย เป็นเราก็คงไม่อยากใช้โต๊ะที่เลอะเทอะเหมือกันใช่ไหมครับ เมื่อเราใช้โต๊ะเรียบร้อยแล้วก็ให้ดูว่าเราลืมทิ้งเศษขยะไว้หรือเปล่า ตรวจสอบว่าโต๊ะเลอะขี้ยางลบหรือน้ำที่เราซื้อมากินหรือไม่ ถ้ามีให้เราจัดการมันให้เรียบร้อย หากเป็นโต๊ะที่มีเก้าอี้แยกก็อย่าลืมเก็บเก้าอี้เข้าโต๊ะด้วย

 

นอกจากความสะอาดเราก็ไม่ควรทำให้ที่นั่งเกิดความเสียหาย ผุพัง อย่างที่ผู้เขียนบอกไปข้างต้นว่าของพวกนี้เราไม่ได้ใช้คนเดียว มันเป็นสิ่งที่ใช้ร่วมกัน แม้ว่าทางผู้ดูแลจะเป็นคนรับผิดชอบการซ่อมแซมหรือจัดให้มีความพร้อมใช้งานตลอดเวลา แต่การที่เราทำให้มันเสื่อมสภาพเร็วกว่าที่ควรจะเป็น  เราจะกลายเป็นคนที่ไม่มีทั้งมารยาทและจิตใต้สำนึก

 

การอยู่รวมกันในสังคมจะต้องอยู่อย่างมีกฎเกณฑ์ เนื่องจากต่างคนต่างความคิด ต่างความต้องการ และต่างคนต่างอยากได้ประโยชน์ แต่กฎเกณฑ์เพื่อให้เกิดจุดตรงกลางของทุกคนในสังคมให้สามารถอยู่ร่วมกันได้โดยไม่กระทบกระทั่งกันนั้น คือ มารยาท แม้ไม่ใช้กฎบังคับอย่างชัดเจน แบบกฎหมาย แต่เป็นจิตสำนึกที่สืบทอดต่อ ๆกันมาโดยมีเป้าหมายให้ทุกคนถือประโยชน์ของสังคมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน ผู้เขียนหวังว่าเมื่ออ่านบทความนี้จนจบผู้อ่านจะนำความรู้ในเรื่องนี้ไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันของตัวเองได้นะครับ 

 

 

 

 

 

Banner 1
Banner 2
Banner 3
Banner 4